เมนูหลัก
ประวัติ
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตหนองแขม
   
 
ประวัติ กศน.หนองแขม
ภารกิจ/โครงสร้าง
นโยบาย/พันธกิจ
     สภาพเดิมเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี มีพงแขมขี้นอยู่มากตามริมหนอง ชาวบ้านได้ขุดบ่อไว้กลางหนองเพื่ออาศัยน้ำจืด จึงเรียกว่า “บ่อหนองแขม”

     พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น “อำเภอหนองแขม” ขึ้นต่อกระทรวงนครบาล ( ปัจจุบัน คือกระทรวงมหาดไทย ) มีนายยอด (ไม่ทราบนาสกุล) เป็นนายอำเภอหนองแขมคนแรก โดยที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ตรงบ้านพักคนงาน (สมัยก่อนเรียกว่า โรงจับกัง ) ของโรงสีเหลียงเฮงฮวดปัจจุบัน และมีสถานีตำรวจหนองแขมตั้งอยู่ติดกับบริเวณโรงสี
อำเภอหนองแขมสมัยแรกตั้งได้แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล คือ
      1. ตำบลหนองแขม มีขุนขจรหนองแขมเขตร์ เป็นกำนันปกครอง
      2. ตำบลหนองค้างพลู มีขุนขจรประเทศหนองแขมขันธ์ เป็นกำนันปกครอง
      3. ตำบลหลักสอง มีขุนภิบาลเขตร์นคร เป็นกำนันปกครอง
      4. ตำบลหลักหนึ่ง ( บางแค ) มีขุนหนองแขมกนิษฐศร เป็นกำนันปกครอง
  

     พ.ศ. 2452 ผู้ใหญ่ช้าง นาควัชระ ภายหลังเป็นหมื่นประสรธุระราษฏร์ ได้มอบที่ดินตรงปากคลองมหาศร หมู่ที่ 5 ตำบลหนองแขม ริมคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ เพื่อยกให้เป็นที่ว่าการอำเภอหนองแขมทางราชการ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ดังกล่าว

     พ.ศ. 2481 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการยุบรวมอำเภอลงเป็น กิ่งอำเภอ โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ว่า เนื่องจากอำเภอบางแห่งเป็นอำเภอเล็ก มีปริมาณงานไม่มากและจำนวนพลเมืองมีน้อย การคมนาคมระหว่างอำเภอสะดวกขึ้น จึงสมควรที่จะปรับปรุงเขตปกครองเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ เพื่อประโยชน์แก่ราชการ และความสะดวกของประชาชน จึงทรงพระกรุณาโปรดเก้าฯ ให้ยุบรวมอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ โดยยุบอำเภอหนองแขมลงเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อกิ่งอำเภอหนองแขมขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี

      จังหวัดธนบุรี จึงมีอำเภอในขณะนั้น 6 อำเภอ คือตลิ่งชัน ธนบุรี บางกอกน้อย บางขุนเทียน ภาษีเจริญ และราษฎร์บูรณะ มีกิ่งอำเภอ 3 กิ่ง คือ กิ่งคลองสานกับกิ่งบางกอกใหญ่ขึ้นกับอำเภอธนบุรี กิ่งหนองแขมขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ

     พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ตั้งกิ่งอำเภอหนองแขมขึ้นเป็นอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี ดัวยเหตุผลที่กิ่งอำเภอหนองแขมมีประชาชนหนาแน่นกว่าเดิม สภาพท้องที่เจริญขึ้นสมควรยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เพื่อประโยชน์ในการปกครอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ราษฎร และส่งเสริมท้องที่ให้เจริญขึ้นอีก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ให้ตราพระราชกฤษฎีกา เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองแขม พ.ศ. 2501 ให้ตั้งกิ่งอำเภอหนองแขมขึ้นเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอหนองแขม ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดธนบุรี มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2501

     พ.ศ. 2514 มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่โดยมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดเดียวกันเรียกว่า “นครหลวงกรุงเทพธนบุรี” อำเภอหนองแขมจึงเป็นอำเภอที่ขึ้นกับนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็น “กรุงเทพมหานคร” และแบ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครออกเป็นเขต ( อำเภอ ) และแขวง ( ตำบล )
พ.ศ. 2516 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งกรุงเทพมหานครออกเป็น 24 เขต อำเภอหนองแขมจึงเปลี่ยนเป็นเขตหนองแขม ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2521 ได้ย้ายว่าการเขตหนองแขมจากปากคลองมหาศร มาตั้งที่หมู่ที่ 7 แขวงหนองค้างพลู เป็นที่ดินที่ นายล้อม ฟักอุม ยกให้ทางราชการและเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตหนองแขมในปัจจุบัน

ที่ตั้ง ปัจจุบัน กศน.หนองแขม (สำนักงานเขตหนองแขม อาคาร 2 ชั้น 3) ตั้งอยู่เลขที่ 28 หมู่ที่ 7 ถนนเพชรเกษม
แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

เขตหนองแขม
     ประกอบด้วยพื้นที่เขตการปกครอง แขวงหนองค้างพลู และแขวงหนองแขม

แนวเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตทวีวัฒนา
     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตบางแค
     ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตบางบอน
     ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
     อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
     แนวเขตการปกครองของเขตหนองแขม  

     ทิศเหนือ เริ่มจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตปกครองอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมและกรุงเทพมหานครกับคลองบางไผ่ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางไผ่เหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางไผ่ฝั่งเหนือกับคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางไผ่ฝั่งเหนือกับคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก จนถึงแนวของทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ บรรจบแนวของทางซอยเพชรเกษม 69            (ถนนบางบอน 3) ฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางซอยเพชรเกษม 69 ( ถนนบางบอน 3 )
ทิศใต้ เริ่มจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนบางบอน 3 ฟากตะวันออก กับคลองหนามแดงฝั่งเหนือ กับแนวกึ่งกลางคลองสี่วา
( ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตระหว่างอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กับเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร )
ทิศตะวันตก เริ่มจากจุดบรรจบระหว่างคลองหนามแดงฝั่งเหนือ กับแนวกึ่งกลางคลองสี่วา ( ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตระหว่างอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครกับเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ) ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางคลองสี่วา บรรจบแนวกึ่งกลางคลองภาษีเจริญ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวกึ่งกลางคลองภาษีเจริญ บรรจบแนวกึ่งกลางคลองภาษีเจริญ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวกึ่งกลางคลองภาษีเจริญ บรรจบแนวกึ่งกลางคลองศรีสำราญ ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางคลองศรีสำราญ บรรจบกับแนวเขตปกครองระหว่างอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กับเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตปกครอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร กับคลองบางไผ่ฝั่งเหนือ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไป
     สภาพพื้นที่ของเขตหนองแขมเป็นที่ราบลุ่ม เศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ปัจจุบันสภาพพื้นที่และการประกอบอาชีพเปลี่ยนแปลงไป เขตชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นในคนต่างถิ่นอพยพเข้ามาอยู่อาศัย และประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรถูกเปลี่ยนแปลงเป็นโรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น

ลักษณะการใช้พื้นที่ตามผังเมืองกรุงเทพมหานคร
   การใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อกำหนดผังเมืองรวม
     1. ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ( พื้นที่สีเหลือง ) 16.565 ตร.กม.
     2. ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ( พื้นที่สีส้ม ) 1.965 ตร.กม.
     3. ที่ดินชนบทและเกษตรกรรม ( พื้นที่สีเขียว ) 15.856 ตร.กม.
     4. ที่ดินประเภทสถานที่ราชการ สาธารณูปโภค
และสาธารณูปการ ( พื้นที่สีน้ำเงิน ) 0.686 ตร.กม.
( โรงงานกำจัดมูลฝอยหนองแขม )

ข้อมูลทะเบียนราษฎร ( มีนาคม 2545 )
     จำนวนประชากร รวม 115,506 คน
     แขวงหนองแขม จำนวน 51,260 คน
     แขวงหนองค้างพลู จำนวน 64,246 คน ( ไม่รวม ท.ร. กลาง )
     จำนวนบ้านเรือนทั้งหมด จำนวน 40,805 หลังคาเรือน
     จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวม 84,423 คน

การปกครอง
     เขตหนองแขม มีพื้นที่ทั้งหมด 35,825 ตารางกิโลเมตร แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นแขวงและหมู่บ้าน ประกอบด้วยพื้นที่แขวง 2 แขวง และ 26 หมู่บ้าน ดังนี้
     1. แขวงหนองแขม พื้นที่ 18,789 ตร.กม. มีหมู่บ้าน 14 หมู่
     2. แขวงหนองค้างพลู พื้นที่ 17,036 ตร.กม. มีหมู่บ้าน 12 หมู่

     ตามประกาศกรุงเทพมหานครให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านถ้าหมดวาระแล้วไม่ต้องให้มีการเลือก และแต่งตั้งทดแทน และให้ทุกตำแหน่งพ้นจากตำแหน่งภายในปี พ.ศ. 2547
ปัจจุบันในแต่ละแขวง หมู่บ้าน ยังคงมีผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล เป็นผู้ปกครองท้องที่ ดังนี้
-      ผู้ใหญ่บ้าน 16 คน
         - แพทย์ประจำตำบล 2 คน
         - ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 18 คน

ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล แขวงหนองแขม
    
1. นายทวิช ขำดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
     2. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
     3. นายกฤษณะ นาควัชระ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3
     4. นายวิวัฒน์ รอดรังนก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4
     5. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5
     6. นายนพดล ศรีมงคล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6
     7. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
     8. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8
     9. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9
     10. นายอร่าม บุญฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10
     11. นายสุวิทย์ วงษ์นาค ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11
     12. นายชะอ้อน สำเนียงใส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12
     13. นายวิสูตร์ กระถินทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13
     14. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14
     15. นายจำรัส โพธิ์สุข แพทย์ประจำตำบล

ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล แขวงหนองค้างพลู
     
1. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
      2. นายไพศาล รุ่งแจ้ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
      3. นายธาริน แสงศิริ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3
      4. นายสำรวย บัวหลั่น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4
      5. นายสำรวย จันทร์บำรุง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5
      6. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6
      7. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
      8. นายสิน ทองสง่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8
      9. นายพจนารถ จันทร์วิทยานุชิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9
      10. ยุบเลิกตำแหน่ง- ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10
      11. นายภากร พุ่มประดับ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11
      12. นายไชยรัตน์ นาคสุทธิ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12
      13. นายเสนาะ เกตุพลอย แพทย์ประจำตำบล

อาจารย์ประจำ กศน.หนองแขม
ผู้อำนวยการ
อาจารย์ 2 ระดับ 7
ครูศูนย์การเรียนชุมชน
ครูอาสาสมัครฯ  
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  
นักการภารโรง  
 study
 
 กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา  
 school ด้านการศึกษา  
 แนะนำสถาบันการศึกษา  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตหนองแขม
สำนักงานเขตหนองแขม (อาคาร2 ชั้น3) ถ.เพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรศัพท์.0-2808-8501-2 โทรสาร 0-2808-8502

(ติดต่อผู้ดูแลเว็บ) Webmaster : podt3527@hotmail.com